วันนี้เป็นคิวการทดสอบเครื่อง thin client ที่บริษัทผู้ผลิตนมกล่องรายใหญ่ที่เอ่ยชื่อทุกคนต้องรู้แน่นอน โดยจะทดสอบใช้กับแอพพลิเคชั่นเดิมที่ใช้อยู่บนเครื่องพีซี ซึ่งจะต้องมี printer dot และเครื่องพิมพ์บาร์โคด
นอกจากจะใช้แอพพลิเคชั่นได้แล้ว การพิมพ์ต้องได้และอยู่ในฟอร์มด้วย
POC (Prove Of Concep) ในห้องประชุมก่อนลงมือทดสอบจริง
POC คือขั้นตอนที่ TSS ออกแบบ solution thin client ตามความต้องการของบริษัทลูกค้า ก่อนลงมือทดสอบ เราได้สรุป poc กันดังนี้
1. การออกแบบระบบจะใช้ thin client เข้าถึงแอพพลิเคชั่นของลูกค้า ซึ่งเป็น web based โดยใช้ IE และ Firefox บน thin client เป็น browser
2. ใช้ IE และ Firefox บนเครื่อง Terminal Server เข้าถึงแอพพลิเคชั่นของลูกค้า ซึ่งเป็น web based โดยใช้ thin client เป็นหน้าจอพิมพ์แทนเครื่องพีซี
3. ติดตั้งเครื่องพิมพ์บาร์โคดรุ่น TSC TTC 245 และ printer dot matrix Epson 2180i เข้ากับเครื่อง thin client
4. แจกแอพพลิเคชั่นในกลุ่ม Microsoft Office,E-Mail,Browser ให้กับผู้ใช้งานผ่าน 2X Application ซึ่งจะมี 2X Client บนเครื่อง Thin Client เป็นวินโดวส์ในการเรียกใช้แอพพลิเคชั่นเหล่านี้
5. ใช้เครื่องพีซีทำหน้าที่่เป็น thin client ด้วย 2XOS
เริ่มทดสอบ
1. ติดตั้ง Terminal Service บน Windows 2003 Enterprise และแอพพลิเคชั่นต่าง ๆ ไดยฝ่ายไอทีของบริษัทลูกค้า
2. ติดตั้งโปรแกรม 2X ApplicationLoadbalanced โดย TSS สร้าง Server Farm และ publish application เป็นกลุ่มๆ
3. สร้าง user / group แบบ local ขึ้นมาสองชื่อสำหรับใช้งาน
4. ตั้งเครื่อง thin client Astec ใช้ OS เป็น WindowsXPe
4.1 ต่อ printer TSC TTC 245 เข้ากับ USB ด้านหน้าของ TC ติดตั้ง driver จากแผ่นติดตั้งและฟอนต์สำหรับบาร์โคด ทดสอบพรินต์จากซอฟต์แวร์ของ TSS TTC ใช้งานได้
4.2 กำหนดค่า 2X Client บนเครื่อง TC เซิร์ฟเวอร์กับ TC อยู่เน็ตเวิร์กคนละวงกัน สามารถคอนเนคถึงกัน tc เรียกแอพพลิเคชั่นมาโชว์ที่หน้าจอได้ ไม่มีปัญหา
5. ทดสอบใช้งานกับแอพพลิเคชั่นจริง ๆโดยให้ user ที่เป็นผู้ทำงานจริงมาทดสอบ
5.1 เครื่อง TC ที่ใช้ความเร็วของ FC card 133X ช้ามาก user แจ้งว่าไม่น่าใช้ เพราะการทำงานจริงต้องให้ทันกับเวลาด้วย จึงยกเลิกการทดสอบเครื่องนี้
5.2 ทดสอบเครื่อง TC เครื่องที่สองที่มี FC card แบบ DOM ความเร็วไม่ต่างจากพีซีมากนัก ผู้ใช้งาน happy มากขึ้น
ทดสอบเข้าแอพพลิเคชั่นที่เป็น web based จาก IE ของ TC โดยตรง
- เข้า แอพพลิเคชั่นได้ เร็วในระดับที่ user พอใจพิมพ์ข้อมูลได้ เรียกข้อมูลออกมาแสดงได้เป็นปกติ มีปัญหาที่ฟังก์ชั่นการพิมพ์ตัว IE ไม่โหลด CrystalReport ActiveX ทำให้รายงานผลก่อนพิมพ์ไม่ได้ -> ต้องแก้ไขให้เรียบร้อยในขั้นตอนต่อไป
ทดสอบใช้ IE และ Firefox โดยผ่าน Terminal Service
การทำงานประจำวันของแอพพลิเคชั่น ผู้ใช้งานจะทำการ map drive จากไฟล์เซิร์ฟเวอร์เข้ามาก่อน (ไม่มี AD) และเรียกไฟล์ MS Access ต่าง ๆ ออกมาทำงาน ซึ่งไฟล์ MS Access จะทำการเชื่อมต่อไปยัง MS SQL server โดยผ่าน ODBC โดยมีรูปแบบการทำงานเป็นดังนี้
Mapdrive -> Open MS-Access file -> ODBC -> MS SQL server
- เปิดไฟล์ ms-access เรียกหน้าจอแอพพลิเคชั่นทดสอบในหัวข้อการพิมพ์บาร์โคด ออกทางเครื่องพิมพ์ TSC TTC 245 ที่ TC ได้ตามปกติ
- เข้าแอพพลิเคชั่นที่เป็น web based ผ่านทาง IE เรียกข้อมูลและพิมพ์รายงานซึ่งโปรแกรมจะ report ออกมาเป็น Excel และให้ save file หรือเปิดด้วย Excel ได้เลย ในฟังก์ชั่นนี้ผ่าน และ IE ก็สามารถโหลด CrytalReport ActiveX ได้ด้วย
- เข้าแอพพลิเคชั่นที่เป็น web based ผ่านทาง firefox เรียกข้อมูลการพิมพ์บาร์โคดให้ออกทาง TC มี error พิมพ์ไม่ได้
ทดสอบใช้ IE , Firefox และ map drive จาก 2X Client ที่ TC
- map drive เปิดใช้ไฟล์ MS-Access ได้ แต่พิมพ์ผ่าน TSC TTC 245 มาที่ TC ไม่ได้
- โปรแกรม IE และ Firefox เปิดแอพพลิเคชั่นได้ แต่มีปัญหาการพิมพ์ผ่าน TSC TTC 245 ทั้งคู่
- แอพพลิเคชั่นอื่น ๆ เช่น MS-Office ทำงานได้ปกติ
( ปัญหาใหญ่ของ 2X Client คือแอพพลิเคชั่นใด ๆ ไม่สามารถพิมพ์ออกมาที่ TSC TTC 245 ซึ่งต่ออยู่ที่ TC ได้เลย)
ทดสอบใช้ TC ต่อกับ printer Epson LQ 2180i ที่ warehouse
- ติดตั้ง TC ที่ warehouse จริง ๆ ของลูกค้า ซึ่งเป็นเน็ตเวิร์กอีกวงหนึ่งจากเซิร์ฟเวอร์
- ต่อ printer Epson LQ2180i เข้ากับ LTP ของ TC
- ติดตั้ง Driver ที่ TC
- เรียกใช้แอพพลิเคชั่นจากเซิร์ฟเวอร์โดยผ่าน 2X Client และพิมพ์รายการสั่งซื้อลงในฟอร์ม พิมพ์ออกมาได้ อยู่ในฟอร์มพอดี ระยะเวลารอหลังจากสั่งพิมพ์จากแอพพลิเคชั่นแล้วไม่เกิน 30 วินาที
- แชร์ printer ที่ต่ออยู่กับ TC ให้กับคอมพิวเตอร์อื่น ๆ ได้ด้วยโดยไม่มีปัญหาใด ๆ
( การทดสอบกับเครื่องพิมพ์ LQ 2180i ผ่านได้ทุกฟังก์ชั่น ทั้งแบบ Terminal Service และผ่าน 2X Application)
ทดสอบการ Manage TC ผ่านโปรแกรม AMS
- ยังไม่ได้ทดสอบเพราะเวลาไม่ทัน จึงตกลงที่จะศึกษาจาก software และเอกสารที่ TSS จะนำส่งให้อีกครั้งหนึ่ง
การทำ poc ในห้องประชุมทำให้ได้ทราบความต้องการของผู้บริหารที่สนใจในโปรดัคThin Client solution คือ
"ต้องการระบบ manage ผู้ใช้งานเป็นหลัก และการทดแทนเครื่องพีซีเป็นข้อสำคัญอันดับสอง"
การ manage ที่คาดหวังต้องทำได้ง่าย เปิดปิดระบบความปลอดภัยได้ทันที ใช้คนน้อย และมองเห็นสถานะการทำงานของเครื่องได้อย่างปัจจุบัน (realtime) หากใช้ PC อย่างปัจจุบันต้องลงทุนด้านซอฟต์แวร์ manage สูงมากและการใช้งานยุ่งยากซับซ้อน ทั้งการลงทุนและวิธีการใช้งานจึงไม่เหมาะสม การใช้ TC ที่มีระบบ Manage มาด้วยจึงเป็นทางเลือกที่ดีกว่าทั้งการลงทุนและวิธีใช้งาน
Thin Client ของ Astec สามารถตอบโจทก์การ manage ดังกล่าวได้อย่างลงตัวและถูกที่สุด โดยสามารถ manage ในระดับฟังก์ชั่นต่าง ๆ ดังนี้
1. ปิดการนำอุปกรณ์ต่อพ่วงต่าง ๆ จากภายนอกเข้ามาใช้กับพีซีของบริษัท เพราะ thin client สามารถปิดการใช้ usb ที่ตัวฮาร์ดแวร์ได้เลย
2. ป้องกันผู้ใช้งานติดตั้งซอฟต์แวร์ต่างๆลงบนพีซีหรือการนำไฟล์มีเดียต่างๆมาเปิดใช้งาน เพราะ thin client ใช้ระบบควบคุมซอฟต์แวร์ผ่านเซิร์ฟเวอร์ มีการกำหนดสิทธิ์ผู้ใช้งานที่ละเอียดโดยเทคโนโลยีของ microsoft
3. สนับสนุนการป้องกันผู้ใช้งานในระดับสูง ที่มากกว่า terminal service โดยให้ผู้ใช้งานมองเห็นเฉพาะแอพพลิเคชั่นเท่านั้น ไม่สามารถปรับแต่งหน้าจอใด ๆ ได้ด้วย 2X client
4. สนับสนุนงาน manage ตัวฮาร์ดแวร์ TC ผ่านระบบแลนทั้งการแก้ปัญหาแบบทันที การ backup image การกำหนดค่าต่าง ๆ โดยไม่ต้องเดินไปถึงหน้างานที่ tc ตั้งอยู่
5. สนับสนุนงาน traning user และการ monitor หน้าจอผู้ใช้งานในแบบเรียลทามน์ ผู้ดูแลระบบสามารถจะสอน หรือดึงหน้าจอขณะนั้นของผู้ใช้งานมาดูได้ทันที
6. ปลอดภัยจากไวรัส thin client มีระบบป้องกันการเขียนไฟล์ ที่สามารถเปิดและปิดการใช้ได้ตามความต้องการ เมื่อเครื่อง thin client ติดไวรัสก็สามารถคืนกลับไปยังค่าที่ดีที่สุดได้ภายในสามนาทีด้วยการคลิกเพียงสองครั้งเท่านั้น
ซึ่งการ manage ทั้งหมดนี้ผ่านซอฟต์แวร์ AMS ซึ่งจะทำงานร่วมกับ engine ที่ฝั่งอยู่ในตัว thin client Astec เท่านั้น ไม่สามารถใช้กับ thin client ค่ายอื่น ๆได้และเป็นซอฟต์แวร์ manage ฟรีที่ Astec พัฒนาและส่งมอบให้ผู้ใช้งานในงาน manage tc ของตน
BY : Tawich Boondhum
www.thinclientclub.com
www.tss.co.th
www.zimbramailcs.com