Easy Manage , Low Cost , Strong Secutiry

Easy Manage , Low Cost , Strong Secutiry
Thin SolutionSystem Co.,LTD Tel: 083 495 5863

วันอาทิตย์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ซีไอโอชั้นนำ แนะกลยุทธ์ไอที รับมือวิกฤติเศรษฐกิจ "ไม่ปรับลดงบประมาณ แต่ใช้อย่างชาญฉลาด"



(ภาพประกอบจาก http://img.ryt9.com)

การสัมมนา​เชิงวิชา​การ ​เรื่อง “กลยุทธ์ฝ่าวิกฤติของ CIO” ณ ห้อง​เวิลด์บอลรูม ชั้น 23 ​โรง​แรม​เซ็นทารา ​แกรนด์ ​และบางกอกคอน​เวนชั่น ​เซ็น​เตอร์ ​เซ็นทรัล​เวิลด์ ​ซึ่งจัด​โดยสมาคมซี​ไอ​โอ ร่วมกับนิตยสาร CIO World & Business ​การสัมมนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์​เพื่อ​ให้​ผู้บริหารระดับสูง ​ได้ตระหนัก​ถึงผลกระทบจากภาวะ​เศรษฐกิจที่ถดถอย รวม​ทั้งระดมสมองวิ​เคราะห์ผลกระทบที่อาจ​เกิดขึ้น ​เพื่อหา​แนวทางรับมือ​และ​การ​แก้​ไขปัญหา​ในอนาคต ​โดย​การสัมมนาดังกล่าว​ได้​เชิญ​ทั้ง​ผู้บริหาร​เทค​โน​โลยีสารสน​เทศระดับสูง (CIO) ​และ​เจ้าหน้าที่ฝ่าย​เทค​โน​โลยีสารสน​เทศจากหน่วยงานราช​การ รวม​ถึงองค์​การ​เอกชน​เข้าร่วมประชุมจำนวน 300 คน

กลยุทธ์เด็ดที่นำมาถ่ายทอดสู่วงสัมมนาคือ ต้องใช้ไอทีเข้ารับมือวิกฤตเศรษฐกิจ โดยนำข้อมูลมาวางแผน พร้อมกันนี้ต้องศึกษาโอเพ่นซอร์สอย่างจริงจัง ลดระบบงานซ้ำซ้อน และเจรจาต่อรองเจ้าของผลิตภัณฑ์ให้ได้ราคาและบริการที่ดี ทุกรายบอกตรงกันว่าไม่ปรับลดงบประมาณใช้จ่ายไอที แต่ต้องใช้อย่างชาญฉลาด


เริ่มกันที่นายไชยเจริญ อติแพทย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทพีทีที ไอซีที โซลูชั่น จำกัด ผู้ให้บริการไอทีแก่บริษัทในเครือปตท ยืนยันว่า ปกติ ปตท ใช้ไอทีอย่างชาญฉลาดอยู่แล้ว ช่วงวิกฤตก็ไม่ลดงบประมาณด้านไอทีลง เพราะธุรกิจยังคงเดินหน้าต่อไป การทำงานต้องดูความต้องการของภายในองค์กร โดยมีแนวคิดต้องทำมาตรฐานบริการของบริษัทเท่ากับ หรือดีกว่าตลาด

ทั้งนี้ การที่ ปตท ก้าวสู่อันดับ 118 ในฟอร์จูน 500 แน่นอนว่าต้องมีไอทีเป็นตัวขับเคลื่อนพอสมควร เมื่อเกิดวิกฤตต้องปรับทิศทางไอทีกับธุรกิจให้สอดรับกัน ซึ่งชีวิตซีไอโอ เหมือน 1 ใน 3 ของเวนเดอร์ ต้องชาญฉลาดที่จะคุยและใช้จังหวะให้เหมาะสม เช่น เจรจากับเวนเดอร์ให้รับผิดชอบงานเหมือนเดิม

เดือนธ.ค.ปีที่แล้ว ผมเรียกเวนเดอร์มาคุย เพราะเขามีปัญหาลอยแพพนักงาน ไม่ยอมจ่ายเงินเดือนตั้งแต่ต.ค. ถึงธ.ค. พอคนไม่มีเงินก็ขาดขวัญกำลังใจทำงาน จึงมีผลกระทบต่อการทำงานให้ ปตท ที่เป็นลูกค้าอีกทอด จนจบปัญหาลงได้


อย่างไรก็ตาม ช่วงวิกฤตทำให้สิ่งต่างๆ ไม่เหมือนเดิม เพราะเป็นช่วงเวลาที่มีโอกาสของนวัตกรรมเกิดขึ้นเสมอ ฉะนั้นต้องมีทีมศึกษาเทคโนโลยีใหม่ๆ รวมทั้งอาชญากรรมไซเบอร์ ระบบคลาวด์ การหลอมรวมเทคโนโลยี

ขณะเดียวกันต้องเตรียมพร้อมรับมือสิ่งใหม่ๆ จนอยู่ตัวซึ่ง ปตท เริ่มการทำงานที่บ้านเมื่อ 3 ปีที่แล้ว โดยการกระทำสิ่งใหม่ๆ ต้องซ้อมก่อนจนมั่นใจว่าสามารถทำได้จริง

อีกทั้งต้อง"โคชชิ่ง"คนไอทีรุ่น ใหม่ในองค์กรให้มีประสิทธิภาพ ไม่ใช่การ"เทรนนิ่ง" ที่ยึดตำรา แต่ต้องเพิ่มโอกาสให้คิด และสร้างสรรค์ โดยไม่ตัดค่าใช้จ่าย แต่ต้องเลือกสิ่งที่มีประโยชน์ให้ ซึ่งคนรุ่นใหม่จะคิดสิ่งใหม่ๆ ที่คนรุ่นเก่าคิดไม่ได้

"คนรุ่นผมทำให้ไอทีในประเทศแพ้ประเทศที่ 1 ที่ 2 และกำลังจะแพ้ประเทศที่ 3 จึงอยากสร้างคนไอทีรุ่นใหม่ให้ชนะด้วยการโคชชิ่ง ที่เป็นลักษณะ 2 ทาง ไม่ใช่เทรนนิ่งที่เป็นป้อนทางเดียว"


นายจรัมพร โชติกเสถียร รองผู้จัดการใหญ่ กลุ่มเทคโนโลยี ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เมื่อเกิดวิกฤต ธนาคารได้เจรจาต่อรองกับเวนเดอร์ทุกราย ไม่ใช่ต้องการทำให้กำไรของแต่ละรายลดลง แต่ให้สะท้อนไปถึงสำนักงานใหญ่ เพื่อให้ได้ราคาที่เหมาะสม

พร้อมกันนี้ ต้องดูระบบงานที่ซ้ำซ้อน สิ่งใดยุบรวมกันได้ต้องจัดการ ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านการบำรุงรักษา ควบคู่กับการจัดการความต้องการของผู้ใช้ที่ปกติจะมี 2-3 เท่าของความสามารถที่จะจ่ายได้ ต้องเลือกซื้อตามลำดับความสำคัญ จัดการการออกแบบสถาปัตยกรรมระบบให้ง่ายและชัดเจน

รวมถึงพิจารณาความคุ้มค่าของการเป็นเจ้าของ และใช้ระบบแบ่งปันบริการ จากการที่มีบริษัทในเครือมาก ก็เริ่มย้ายงานบริการที่แบ่งปันกันได้ทำเป็นแผนกหนึ่งไปไว้ด้วยกันที่บริษัทแม่

นางสาววิไลพร ทวีลาภพันทอง หุ้นส่วนสายงานอินฟอร์เมชั่น เทคโนโลยี เซอร์วิส บริษัทไพร้ซวอเตอร์เฮาส์ คูเปอร์ส จำกัด แนะนำว่า บริษัทเหมือนร่างกาย ต้องพิจารณาดีๆ ว่าจะตัดกล้ามเนื้อ หรือไขมัน สิ่งไหนควรชะลอ หรือเลื่อนกำหนดออกไปแทนการตัด มิฉะนั้น จะกลายเป็นลดค่าใช้จ่ายระยะสั้น แต่ระยะยาวจะจัดการไม่ได้

เธอฝากข้อคิดในการจัดการระบบไอทีที่ เหมาะสม คือ โครงการไหนราคาสูง ให้ดูว่าลงทุนแล้วซ้ำซ้อนกับโครงการอื่นไหม ชะลอไปได้หรือไม่ ต้องทำระบบคลังข้อมูลแอพพลิเคชั่นว่ามีอะไรอยู่บ้าง เพราะบางอย่างอาจซื้อมาแล้วใช้งานเพียง 10-15% แต่ต้องจ่ายค่าดูแลเต็มทุกปี ถึงไม่เคยทำมาก่อนก็ต้องเริ่ม เนื่องจากเป็นประโยชน์ระยะยาว

ประโยชน์ที่จะได้เห็นทันทีอย่างหนึ่งคือ การรักษาความปลอดภัยข้อมูลในระบบ พอจัดทำอินเวนทอรี่จะทำให้รู้ว่าอะไรไปอยู่ที่เซิร์ฟเวอร์ไหน หลายๆ องค์กรซื้อแอพพลิเคชั่นมา จ่ายเงินค่าเมนทิแนนซ์ครบทุกปี แต่อัพเดทไม่ครบทุกแพตช์


นอกจากนี้ ตัวองค์กรมีคนไอทีเท่าไร แบ่งงานอย่างไร จัดการดีๆ จำนวนคนเท่าเดิมแต่จะได้งานมากขึ้น บริหารการจัดซื้อและบริการให้ดี ควบคู่กับการจัดการโครงสร้างพื้นฐานและศูนย์ข้อมูลที่ดี หาเทคโนโลยีมาช่วยจะลดค่าใช้จ่ายได้

เธอบอกด้วยว่า ตามข้อแนะนำข้างต้น หลายๆ องค์กรเริ่มทำบางอย่างได้เอง เช่นการจัดสรรหน้าที่งาน แต่ก็ใช้บริการที่ปรึกษาในบางเรื่องได้ ได้แก่แนวคิดการดำเนินการ การจัดการแอพพลิเคชั่นที่เก็บสะสมไว้มากมาย

นางวัลลภา เปี่ยมนพเก้า ผู้อำนวยการฝ่ายช่องทางการตลาด บริษัทอีเอ็มซี อินฟอร์เมชั่น ซิสเต็มส์ จำกัด บอกว่า ช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ ยอดขาย และงบประมาณไอทีล้วนไม่เพิ่ม แต่ข้อมูลเพิ่มอย่างต่อเนื่อง เพราะฉะนั้น ต้องใช้เวลาเช่นนี้ "คลีน อัพ" ข้อมูลในองค์กร

เธอให้ข้อแนะนำว่า จะต้องจัดเก็บข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ ป้องกันไม่ให้เกิดการสูญหาย โดยการใช้งานอย่างถูกคนถูกหน้าที่ ทำอย่างมีประสิทธิภาพและไม่ซ้ำซ้อน ที่สำคัญทำอย่างไรให้ข้อมูลนั้นๆ กลับมาช่วยธุรกิจขององค์กรให้ได้


นายสุชาติ ตันธนะเดชา อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวเพิ่มเติมว่า วัฒนธรรมในองค์กรต้องเปลี่ยนแปลงให้สอดคล้องกับวิกฤตที่มาถึง มิเช่นนั้นองค์กรจะลำบาก พร้อมกับฝากคำคมชวนคิดว่า สุดยอดของการเปลี่ยนแปลงคือการฟันฝ่าวิกฤต

ที่มาของข่าว : -- ขออนุญาตคัดลอกเนื้อหาเดิมทั้งหมด --
http://www.osdev.co.th/

"Reduce i-Cost with Thin Solution"
www.thinclientclub.com

0 comments:

แสดงความคิดเห็น

Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites More