Easy Manage , Low Cost , Strong Secutiry

Easy Manage , Low Cost , Strong Secutiry
Thin SolutionSystem Co.,LTD Tel: 083 495 5863

วันเสาร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2554

Thin Client รันโปรแกรม AutoCad ได้แล้ว หมดเวลารอคอยเสียที

คุณผู้อ่าน...ท่านที่เคารพครับ

ผมรอคอยโอกาสนี้มานาน...หลายปี
รอตั้งแต่ตอนทำงานอยู่ในบริษัท... และหา solution ที่จะใช้ AutoCad บน Thinclient ให้ได้
จนมาเป็นคนขาย thin client เอง.... ก็ยังไม่เจอ solution อย่างที่ว่านั้น...

บัดนี้ถึงเวลาแล้วครับ... สิ้นสุดการรอคอยเสียที
.....
Thin Client รันโปรแกรม Autocad ได้แล้ว รวดเร็ว เหมือนรันบนเครื่องพีซีเลยทีเดียว

แล้วคอยพบกับการเปิดตัวอย่างเป็นทางการที่นี่.... 1 กันยายน นี้
โปรดติดตามครับ


ย้อนกลับไปในช่วงปี 2550 ผมได้รับข่าวสารชิ้นหนึ่งจากเจ้านาย ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทมหาชนที่ผมอยู่... ว่า มีบริษัทเพื่อนของเจ้านายใช้โปรแกรม AutoCAD กับคอมพิวเตอร์ราว 40 เครื่องโดยผ่านเครื่องเซิร์ฟเวอร์ (จะกี่เครื่องไม่แน่ใจ) โดยคอมพิวเตอร์ที่ใช้ AutoCAD นั้นเปิดขึ้นมาปั๊บใช้โปรแกรม AutoCAD ได้เลย เหมือนกับจะไม่มีหน้า OS ให้เห็นตอนบูต AutoCAD ที่ใช้นั้นประมาณว่าจะเป็น 2D สมัยโน้นน่าจะเป็น AutoCAD 2002 

สาเหตุที่เจ้านายส่งข่าวสารชิ้นนี้ให้ก็เพราะว่าช่วงนั้น ผมทำเรื่องขออนุมัติซื้อโปรแกรม AutoCAD 5 License (เกือบล้านบาท) สำหรับให้ฝ่ายวิศวกรรม ที่จะต้องเริ่มทำระบบ TQM ของ toyota เจ้านายเห็นว่าน่าจะมีทางเลือกอื่น ๆ ที่เหมาะกว่าการซื้อไลเซนต์ให้ครบ 

ก็เป็นที่น่าเสียดายว่า ... บริษัทที่เจ้านายแนะนำมานั้น ไม่ได้อยู่ในประเทศไทยครับ ก็จนปัญญาที่่ผมจะตามไปดูงานให้รู้แจ้งเห็นจริงได้ ... แต่ก็พอจะได้ concept ว่าใช้ AutoCAD ผ่าน thin client 

นับแต่นั้นมาคำว่า Thin Client ก็อยู่ในสารบบความคิดของผมมาตลอด ทั้งทฤษฏีและการปฏิบัติ
เริ่มจากการเรียกผู้ขายเข้ามา present มีอะไรบ้าง? ที่ำทำตลาดอยู่เวลานั้น  Wyse , Maple , Dell และ HP ของ HP พึ่งจะเริ่มมีมาไม่นานนี้มั๊ง แต่ก็ได้ทดสอบทั้งหมดโดยพร้อมเพรียงกัน...

ทุกยี่ห้อ ทุกค่าย ต่างส่ายหน้าครับ "ไม่สามารถใช้กับ AutoCAD ได้" 

 Ncomputing , ThinStation , Magic-Mirror ก็ได้รับการทดสอบโดยไม่น้อยหน้ากัน ...
Magic-Mirror ใช้งานได้ก็จริง แต่ไม่ได้ตาม concept ที่เจ้านายบอก ส่วนสองตัวแรกก็คงเรียบร้อยโรงเรียน  thin เหมือนกัน

อย่างน้อยการให้ความสนใจใน thin client และทดสอบของจริง ก็ทำให้ได้พบกับความจริงบางอย่างทางด้านการลดต้นทุนซอฟต์แวร์ และการ manage จนได้มีการผลักดินให้ใช้ระบบ thin client ในบริษัทถึงสี่สิบกว่าเครื่องแทนพีซี .. แต่ก็ยังใช้ไม่ได้กับ AutoCAD อยู่ดี

จนวันนี้ครับ....

ผมได้รู้จักกับเทคโนโลยีหนึ่งจากค่ายรัสเซียเป็น linux ตัวเล็ก ๆ บูตขึ้นมาได้เองและใช้ RDP ผ่านเข้าไปยังเซิร์ฟเวอร์ที่ให้บริการ เปิดใช้โปรแกรม AutoCAD ที่อยู่บนเครื่อง Windows7 ปรากฏว่าใช้งานได้ดีมากอาการสะดุดมีน้อย อยู่ในเกณฑ์ที่รับได้

เราได้ embeded ลงบน thin client และทดสอบใช้งานทันที.. พบว่าใช้เวลาบูตไม่เกิน 15 วินาทีก็สามารถเข้าสู่หน้าจอ Windows7 เปิดโปรแกรม AutoCAD ใช้งานได้เลย

เรื่องดีอีกอย่างหนึ่งของซอฟต์แวร์ตัวนี้คือ "ทำเครื่อง PC เก่า ๆ ประเภท Pentium 100 ให้รันโปรแกรม AutoCAD 2010 ได้อย่างสบาย ๆ "

ค่อยเตรียมพบกับการเปิดตัวอย่างเป็นทางการ... ที่นี่ครับ


วันอาทิตย์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2554

Thin Client ลดค่าลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ฝั่ง computer ได้จริง แต่ Terminal Server ต้องซื้อลิขสิทธิ์ให้ถูกต้องด้วย

คุณผู้อ่าน...ท่านที่เคารพ

Thin Client นั้นลดค่าลิขสิทธฺิ์ทางฝั่งของคอมพิวเตอร์ได้แน่นอน เพราะไม่ต้องติดตั้งโปรแกรม office , antivirus และโปรแกรมอื่น ๆ ที่ต้องซื้อลิขสิทธิ์ โดยติดตั้งโปรแกรมดังกล่าวเหล่านี้บนเครื่องเซิร์ฟเวอร์ terminal service แทน ซึ่งต้นทุนค่าลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์จะถูกเปลี่ยนจากฝั่งคอมพิวเตอร์ไปเป็นฝั่งเซิร์ฟเวอร์แทน เรื่องราวสมมุติต่อไปนี้ จะช่วยให้ท่านเได้เห็นรูปแบบการใช้ซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ที่ถูกต้อง และสามารถประเมินการลงทุนเกี่ยวกับ Thin Client ได้....

ข้อมูลอ้างอิง

เอกสารสรุป Terminal Service License

แนวทางลดค่าลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ของคอมพิวเตอร์ให้เป็นศูนย์บาท ด้วย CCOS ตอนที่ 1

คุณผู้อ่าน... ท่านที่เคารพ

จากประสบการณ์ที่่ผมได้เข้าไป implement ระบบให้กับบริษัทต่าง ๆ ด้วย thin client นั้น พบว่าแต่ละบริษัทที่ใช้ thin client นั้นมีเป้าหมายที่แตกต่างกันบ้าง แต่มีเป้าหมายอย่างหนึ่งที่เหมือนกันทุกบริษัท คือ "ความต้องการลดค่าลิขสิทธิ์ ของเครื่่องพีซี" ซึ่งอาจจะทำให้ลดค่าลิขสิทธิ์ที่เกี่ยวกับ OS (Windows) ลงไปได้สักครึ่งหนึ่งถ้าซื้อเป็นรุ่น XPe หรือ WinCE แต่หากรุ่นที่เป็น Linux ก็จะลดค่าลิขสิทธิ์ OS ได้ 100%

แต่ดูเหมือนว่าได้อย่าง ก็จะเสียอย่าง เหมือนคำโบราณไทยจริง ๆ สำหรับบริษัทที่มีคอมพิวเตอร์อยู่แล้ว การนำ thin client เข้าไปใช้งาน ก็จะเสียเครื่องพีซีซึ่งใช้งานได้ดีอยู่แล้ว เกือบจะ 70% ของบริษัทที่ผมพบ จะนำ thin client ไปแทนพีซีเครื่องที่เสีย หรือในโปรเจคการซื้อเครื่องพีซีใหม่ ก็เปลี่ยนเป็นซื้อเครื่อง thin client แทน ซึ่งทั้งสองกรณีนี้ ยังไม่ตอบโจทก์เรื่องเป้าหมายลดค่าลิขสิทธิ์ได้อย่างทันที ต้องรอให้มีเหตุการณ์เครื่องพีซีเสีย หรือโปรเจคใหม่เกิดขึ้นก่อน เมื่อถึงวันนั้น กว่าถั่วจะสุก งาก็ไหม้เสียแล้ว ทั้งคนอนุมัติงบประมาณอาจจเปลี่ยนใจ หรืองบประมาณไม่มีแล้วก็ได้

ตัว thin client เองก็ยังมี OS ติดมาด้วยถ้าเป็น WindowsCE และ WindowsXPe จะมีค่าลิขสิทธิ์เช่นกัน การลดค่าลิขสิทธิ์ได้จริง ๆ ในส่วนที่เกี่ยวกับ OS จึงเป็นไปได้เพียง 50% เท่านั้น ( ไม่ได้พูดถึง feature อื่น ๆ ที่่เป็นส่วนดีของ thin client ซึ่งอาจจะเทียบไม่ได้กับค่าไลเซนต์ ความเห็นในบทความนี้ พูดเฉพาะส่วนที่เป็นลิขสิทธิ์เท่านั้น เผื่อท่านเจ้าของ product thin client ทั้งหลายจะแย้งเอาได้ )

ถ้า solution ออกมาเป็นว่า "ใช้คอมพิวเตอร์เดิมที่มีอยู่แล้ว เป็น thin client เสียเอง" จะทำได้ไหม
เพื่อจะได้ไม่ต้องเสียคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่เดิม และลดค่าไลเซนต์ไปพร้อมกันโดยเลียนแบบ thin client ที่เป็น Linux OS เสีย

คำตอบก็คือ "ทำได้ครับ" และได้ผลเกินคาดเสียด้วย ขึ้นอยู่กับสภาพการใช้งานของแต่ละบริษัทด้วย
ผมมั่นใจที่ตอบว่า "ได้" เพราะได้ implement ระบบ thin client โดยใช้เครือง pc มาแล้วหลายบริษัท หลายปี มีการทำ MA น้อยมากทั้งการดูแลรักษากันเองภายในบริษัท ก็ทำได้ง่ายใช้เวลาสั้น ๆ

อย่างตัวอย่างล่าสุดที่่ใช้ pc ทำเป็น thin client ก็คือบริษัทผลิตนมแห่งหนึ่งแถวปราจีน

ที่นั้นใช้คอมพิวเตอร์เป็นหลักในการ input ข้อมูลทุกขั้นตอนของกระบวนการผลิต ที่ดำเนินการผลิตตลอด 24 ชั่วโมง การ input ต้องมีความรวดเร็วแม่นยำ เนื่องจากกระบวนใหลของข้อมูลนั้นเป็นลักษณะเรียลทามน์ หน่วยงานถัดไปต้องได้รับข้อมูลก่อน จึงจะดำเนินกิจกรรมการผลิตได้อย่างถูกต้อง เป็นวงเวียนอยู่กับคอมพิวเตอร์อย่างนี้

หัวใจที่สำคัญก็คือคอมพิวเตอร์ต้องไม่เสียง่ายและรวดเร็วในการทำงานทั้ง input และ ประมวลผล
คอมพิวเตอร์ที่ใช้เป็น Acer Emachine ที่ใช้ CPU เป็น Atom มีแรมอยู่ 512 MB. ใช้ Windows XP เป็น OS

คอมพิวเตอร์เหล่านี้เมื่อประจำอยู่ในโรงงาน ไกลหูไกลตาผู้ดูแล พนักงานที่ใช้ติดตั้งโปรแกรมใหม่ก็ได้ ใช้ flashdrive ก็ได้และเอาไปใช้ทางด้าน entertrain ต่าง ๆ คอมพิวเตอร์ติดไวรัส และเสียบ่อย ๆ ต้องโยกคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ เข้าไปประจำแทน เพื่อให้การ input ข้อมูลเป็นไปได้ตามปกติ

และคอมพิวเตอร์เหล่านี้ต้องจัดงบประมาณในการซื้อซอฟต์แวร์ไลเซนต์ที่ถูกต้องด้วย
เป็นงบประมาณทั้งโรงงานเกือบล้านบาท
ถ้าเป็น thin client ก็ต้องใช้เงินเกือบล้านบาท เช่นกัน และยังต้องเสียคอมพิวเตอร์เดิมด้วย

เราได้เริ่มเปลี่ยน Acer Emachine ให้เป็น Thin Client ด้วย CCOS ตอนแรกทำไป 13 เครื่องก่อน แต่ละเครื่องนี้นอยู่ใน process ที่สำคัญในกระบวนการผลิตด้วย เพื่อทดสอบการ input การพิมพ์ และความรวดเร็ว ในเดือนแรกไม่มีปัญหาใด ๆ เกิดขึ้นเลยกับ process ต่าง ๆ ที่ได้จาก Emachine ที่เป็น ThinPC ไปแล้ว เดือนที่สองต่อมาผู้บริหารได้จัดทำเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็น thin client เพิ่มขึ้นอีก 20 เครื่อง โดยให้เจ้าหน้าที่ไอทีของตนเองเป็นผู้ดำเนินการ ( ด้วยขั้นตอนที่ง่ายมาก ที่เราแนะนำ ) และในเดือนที่สาม ก็สามารถจัดคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องให้เป็น ThinPC ได้หมด โดยไม่มีผลกระทบต่อ process ใด ๆ เลย

ThinPC นั้นใช้ CCOS ซึ่งเป็น Linux อยู่แล้ว จึงไม่เสียค่าลิขสิทธิ์ใด ๆ เพิ่ม ทำให้คอมพิวเตอร์นั้นมีค่าลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์เป็น 0 บาทในทันที และยังใช้โปรแกรมเดิม ๆ ที่รันบนวินโดว์สได้อีก...

ถือว่าได้ลดค่าไลเซนต์ให้กับคอมพิวเตอร์ทั้งโรงงานได้เป็นศูนย์บาท คือลดได้ 100% จริง ๆ

ในตอนที่สองผมจะเริ่มบอกให้ท่านได้ทราบแล้วครับว่า CCOS นั้นคืออะไร ?
เหมาะต่อการใช้งานแบบไหน?

คอยติดตามตอนต่อไปครับ...


ตัวอย่าง Cloud Client OS (CCOS) ที่ใช้งาน site งานหนึ่ง



วันพฤหัสบดีที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2554

2X Application กับ CCOS เมื่อต้องเจอ Barcode printer นึกว่าจะยาก...

คุณผู้อ่าน...ท่านที่เคารพ

บทความนี้เป็นภาคต่อ... สำหรับงาน implement ระบบ 2X กับบริษัทนมกล่องทั้งสองบทความที่ผ่านมา

วันนี้ก็มาถึงจุดจบของงาน implement ซึ่งถ้าผ่านอุปกรณ์สองตัวนี้ไปได้... ก็ปิดโปรเจคเก็บตังค์ได้ หากมาดแม้นไม่ผ่าน งานทั้งหมดที่ทำมาก็ล้มเหลว

รูปแบบเดิมที่ใช้กับเครื่องพีซีและ windows XP คือเครื่องพิมพ์ Barcode รุ่น TCS TTP-254 และ เครื่อง Scanner สำหรับอ่านบาร์โค๊ดแบบ usb ใน windowsxp ใช้งานได้อยู่แล้ว มิพักต้องกล่าวถึง




สำหรับ CCOS ซึ่งพื้นฐานก็คือ linux ยังไม่มี driver ของอุปกรณ์ทั้งสองตัวที่กล่าวมา จะรับการอ่านบาร์โค็ดได้หรือ อีกทั้งการพิมพ์บาร์ดโค็ตจะรอดหรือไม่ เป็นเรื่องต้องลุ้น

การคอนฟิก เราได้ติดตั้ง driver เครื่องพิมพ์ TTP-245 บน windows 2003 ซึ่งรันโปรแกรม 2X Application อยู่
ต่อเครื่องพิมพ์ TTP-245 เข้ากับ LPT Port ของ CCOS-PC
สร้างการคอนเนคไปยัง 2X Server พร้อมกับเปิด local device เช่น printer,driveC เป็นต้น
ที่เครื่อง server มองเห็นเครื่อง CCOS เป็นชื่อใน list แล้ว
ทำการชี้ port ของ TTP-245 ไปยังเครื่อง CCOS-PC ที่ PRINT port ( Print Port นะครับไม่ใช่ LPT)

ทดสอบการพิมพ์

ปรากฏว่าพิมพ์คำว่า TEST ออกมาได้อย่างดีเยี่ยม.... ครั้งเดียวผ่าน...
ใช้ application ERP ของลูกค้าพิมพ์ Barcode ก็พิมพ์ได้ปกติ รูปแบบกระดาษออกมาตรงตามตำแหน่งที่กำหนด

ก็ถือว่าเครื่องพิมพ์ Barcode TTP-245 เข้ากันได้ดีกับ CCOS ของเราได้ 100%

สำหรับเครื่องอ่าน Barcode HoneyWell ที่เป็น USB ต่อกับ PC เดิม ไม่ได้ใช้ software driver ใด ๆ ถือว่าเป็น input แทนคีย์บอร์ดสำหรับอ่านบาร์โค๊ตจากอุปกรณ์ต่าง ๆ ส่งให้ซอฟต์แวร์ ERP ประมวลผลต่อ

CCOS เราก็ต่อ Barcode HoneyWell เข้ากับ USB เช่นกัน
เปิดโปรแกรม ERP ขึ้นมา และอ่านบาร์โค็คจากกล่องที่ต้องการ
พบว่าอ่านบาร์โค๊ตเข้าไปยังโปรแกรม ERP ได้



แต่รอนานมาก โปรแกรมไม่ประมวลผล รหัสที่อ่านเข้าไปยังไม่ได้จัดเก็บ...
เอาละซี ตกลงมันจะได้ หรือไม่ พนักงานผู้ใช้เอง เจ้าของงานที่จ้างเราก็ดี ต่างก็ลุ่นเหมือนๆกัน เริ่มมีเสียงดังจากใครคนหนึง และเริ่มหลายเสียงมากขึ้นว่า "ท่าจะไม่ประมวลผล CCOS ไม่ support เสียแล้วกระมัง"

ไอ้เราก็ลุ้นเช่นกัน พลางขยับเมาส์ไปมาบนหน้าจอเพื่อรอให้โปรแกรมประมวลผล ... มือหนึ่งเผลอไปกด enter เข้า ปรากฏว่าโปรแกรมประมวลผลรัสที่ได้จากการอ่าานบาร์โค๊ตนั้นโดยพลันทันที

ซึ่งก็มีเสียงหนึ่งดังขึ้นว่า "Barcode เครื่องนี้ไม่ได้ set ให้กด enter เลย เราต้องมากด enter เอง

โธ๋.... หายใจโล่งอกไปอีกคำรบ.. จบงานเก็บตังค์เสียทีกับอุปกรณ์สุดท้าย ท้ายสุด Barcode HoneyWell เธอก็ผ่านการทดสอบเข้ากันได้กับ CCOS เป็นอย่างดี

หรือท่านใดจะว่าไม่จริง...

อิอิ

วันพุธที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2554

งาน Implementor 2X Applicaion กับ Thin Client ที่บริษัทนมกล่อง ภาคสอง

คุณผู้อ่าน...ท่านที่เคารพ

บทความนี้เป็นภาคสองของการ implement ระบบ 2X Application และ Thin Client ที่บริษัทผลิตนมกล่อง ที่ผมเคยไป demo และบันทึกผลในบทความที่ผ่านมาแล้ว คราวนี้เป็นการ implement จริงแล้วครับ เพราะลูกค้าได้ตัดสินใจเรียบร้อย การ implement ประกอบด้วยงานดังนี้

1. ขึ้น 2X Application Server บนเครื่อง Windows 2003 ซึ่งรันอยู่บน VMware
2. ทำ PC เก่า (Acer Adom รุ่น Emachine) ให้เป็น Thin Client
3. Thin Client จำนวน 10 ตัว

การเชื่อมต่อเครื่องพีซีแบบเดิมสำหรับ Emachine คือต่อเครื่องพิมพ์ Barcode แบบ USB และ Scanner เป็นตัว input ร่วมกับโปรแกรมระบบ erp ต่าง ๆ

เครื่องพิมพ์ Barcode รุ่น TSC TTP-245 Plus และ TSC TTP-245
Scanner usb ของ HoneyWell

ความต้องการหลักจากการซื้อระบบนี้

1. ต้องการลดค่า license ของเครื่อง pc ที่มีทั้งค่า OS และ Applicaion ต่าง ๆ ให้เหลือน้อยที่สุด โดยระบบ 2X Application ทำให้การลดค่าลิขสิทธิ์ของ PC เป็น zero ได้เกินความคาดหมายทั้ง OS license และ Application license

ลดได้จริงหรือไม่ อย่างไร ท้าย ๆ ของบทความนี้จะมี video ให้ท่านได้เห็นตัวอย่างจริงด้วย

2. จะต้องง่ายต่อการ maintenance และ การกำหนด policy ใช้งานได้ ผมได้เดินสำรวจจุดที่จะตั้ง thin client แล้วก็เห็นด้วยอย่างมาก เพราะแต่ละจุดนั้นไกลกันมาก อยู่ใกลจากจุดควบคุม ผู้ใช้งานเป็นพนักงานทั่วไป ยากต่อการควบคุมอย่างยิ่ง ซึ่งการทำให้เครื่องพีซีเดิมเป็น thin client ก็ดี การใช้เครื่อง thin client ก็ดีช่วยจัดการ policy ให้เป็นไปด้วยดีและควบคุมดูแลผู้ใช้งานให้อยู่ในระเบียบได้ง่ายเพราะ software ก็ถูกควบคุมผ่านเซิร์ฟเวอร์ ส่วนช่องต่อ device ต่าง ๆ ก็ควบคุมผ่านตัวอุปกรณ์เอง ถึงแม้เครื่อง PC เมื่อทำเป็น thin client แล้วก็ถูกควบคุมโดยตัว thin client เองเช่นกัน

3. สุดท้ายแล้วระบบการทำงานเดิม ๆต้องทำงานได้อย่างดีกับระบบใหม่ การเชื่อมต่อ device ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องพิมพ์บาร์โค๊ต หรือตัวยิงสแกนเนอร์ ต้องใช้งานได้ ไม่มีการเปลี่ยนแปลง

เริ่มงาน implement ของจริง

ไปถึงไซต์งานปราจีนบุรีเกือบจะห้าโมงเช้า โดยออกจากกรุงเทพราวๆเจ็ดโมงกว่า
ประชุมวางแผนการดำเนินการกับลูกค้าซึ่งมีเจ้าหน้าที่ไอทีด้วย

1. ติดตั้ง Windows 2003 บน VMware ESXi
2. ติดตั้ง application ต่าง ๆ เช่น Microsofe office , Acrobat Reader , Firefox บนเครื่อง Windows 2003
3. ติดตั้ง 2X Application Loadbalance Version 10 และ setup ค่าการคอนเนคชั่น
4. ติดตั้ง 2X ThinclientServer บน 2003 เพื่อควบคุมและเป็น Image สำหรับทำพีซีให้เป็น thin client
5. ติดตั้ง font barcode และ driver barcode บน windows 2003 พร้อมกับทดสอบการเชื่อมต่อไปยังเซิร์ฟเวอร์ผ่าน remote desktop (ผ่าน) ทดสอบเชื่อมต่อด้วย 2X Client จากคอมพิวเตอร์อื่น ๆ (ผ่าน)

แปลงเครื่อง Acer Emachine Atom ให้เป็น Thin Client

6.ทำ Emachine ซึ่งมีซีพียูเป็น Atom ให้เป็น thin client โดยการติดตั้ง CCOS ลงบนฮาร์ดดิสก์ เมื่อบูตขึ้นมาจะเป็น 2X OS ซึ่งมองเห็น lancard , vga เมาส์ และคีย์บอร์ดแบบ usb ทันที ตรงส่วนนี้จะเห็นว่า windows os หายไปแล้วบูตเครื่องขึ้นมาก็เป็น 2X OS เลยมีหน้าจอเป็น Windows ใช้เมาส์และคีย์บอร์ดได้ ค่าไลเซนต์ของ windows ไม่ต้องซื้อแล้วนะครับ แล้วจะใช้โปรแกรมจากที่ไหนหล่ะ ดูข้อ 7 ต่อจะเห็นภาพชัดขึ้น




7. config 2X Client Connection บน CCOS ให้ชี้ไปที่ไอพีของเครื่อง 2003 ซึ่งติดตั้ง 2X Application ไว้พร้อมกับ publish application ไว้แล้วเมื่อ config ได้ถูกต้องก็จะเชื่อมต่อเข้าไปยังเซิร์ฟเวอร์และโหลด application ต่าง ๆ มาไว้ที่ desktop ของ CCOS ผู้ใช้งานจะมองเห็น desktop เหมือนกับ windows ทั่วไปซึ่งสามารถดับเบิลคลิกไอคอนต่าง ๆ เปิดโปรแกรมขึ้นมาใช้งานได้เลย ทั้งฟอนต์ภาษาไทยและการสลับปุ่มคีย์บอร์ดไทย-eng ใช้ตัวหนอนได้ปกติ (ดูภาพประกอบจะเข้าใจมากขึ้น) ค่าไลเซนต์ของซอฟต์แวร์ต่าง ๆที่เป็น word,excel,powerpoint และ antivirus ก็จะกลายเป็นก้อนเดียวบนเซิร์ฟเวอร์ ไม่ต้องมานั่งแจกสาธยายไลเซนต์เป็นตัว ๆตามจำนวนเครื่องพีซีอีกต่อไป เห็นภาพการประหยัดค่าไลเซนต์ส่วนของ application ได้ชัดขึ้นหรือยังครับ




8. config Printer และทดสอบใช้งาน - มีเครื่องพิมพ์ LQ-2010i ที่ต่ออยู่กับเครื่องพีซีที่ตอนนี้กลายเป็น CCOS ไปแล้วต้องใช้งาน เรา config แบบนี้

Add Printer ที่ CCOS Connection เลือกรุ่นและ driver ที่ ccos ให้มาพร้อมกับตั้งชื่อ printer ด้วยในที่นี้เราตั้งชื่อว่า epson_lq2010 เมื่อ remote desktop เข้าไปที่เครื่องเซิร์ฟเวอร์จะมองเห็น priner LQ2010 ทันที และการพิมพ์งานที่ ccos จะมีรายการพรินเตอร์ให้เลือกและส่งเอกสารมาออกที่เครื่องพิมพ์นี้ได้

หลังจาก ทดสอบ LQ-2010 แล้วก็เป็นเวลาล่วงเลยยามวิกาลไปถึงสามทุ่มครึ่ง วันนี้คงต้องพอแค่นี้ก่อน

ต้องขอบคุณ เจ.เจ. อพาร์ทเม้นท์ ที่มีห้องให้เราได้ซุก...นอนได้อีกหนึ่งคืน

เอวัง...

Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites More